รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : BRG4980014
ชื่อโครงการ : การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีและทดลองของกระบวนถ่ายเทความร้อนและมวลในวัสดุพรุนไฮโกรสโคปิคภายใต้พลังงานจากไมโครเวฟ
  Analysis of Heat and Mass Transfer Process in Porous Media during under Microwave Energy
หัวหน้าโครงการ : ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (6 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
หัวหน้าโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 31 ก.ค. 2549
วัตถุประสงค์ : ในเชิงวิชาการ

สามารถทำความเข้าใจในปรากฏการณ์การถ่ายเทความร้อนและมวลในวัสดุพรุนขณะมีการเปลี่ยนสถานะภายใต้พลังงานไมโครเวฟในระดับจุลภาค ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในงานทางวิศวกรรม และสามารนำองค์ความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้งานในทางปฏิบัติหลายสาขา อาทิเช่น การวิเคราะห์เกี่ยวกับการถ่ายความร้อนเละมวลสารในกระบวนการถนอมอาหาร การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนและมวลสารใน Packed Bed ในงานวิศวกรรมเคมี รวมถึงเทคโนโลยีการการเก็บรักษาเนื้อเยื่อในงานด้านการแพทย์ องค์ความรู้ที่ได้โดยเฉพาะในภาคทฤษฎี รวมถึงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง กับโปรแกรมคำนวณที่ประดิษฐ์ขึ้นในโครงการวิจัยครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ครบวงจรในศาสตร์ด้านการถ่ายเทความร้อนและมวลสารในวัสดุพรุนที่มีการเปลี่ยนสถานะ ที่ผู้วิจัยมุ่งหวังให้เกิดขึ้นภายในประเทศไทย ตัวอย่างหัวข้อวิจัยที่ผู้วิจัยที่สำเร็จแล้วและกำลังดำเนินการอยู่ทั้งที่อยู่ภายใต้ทุนสนับสนุนจากองค์กรภายนอก และงานวิจัยอิสระ เช่น จลนศาสตร์ของกระบวนการอบแห้งในวัสดุที่มีหลายชั้น (Drying of multi-layered sample),กระบวนการเย็นเยือก (freezing)(ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศาสตราจารย์ ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ), กระบวนการทำละลาย (ทุนเมธีวิจัย สกว.) กระบวนการอบแห้งด้วยพลังงานจากคลื่นไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศ (combined microwave and vacuum drying) รวมถึงปัญหาการไหลที่มีหลายสถานะ (multi-phase flow problem) และหัวข้ออื่นๆ ปัจจุบันผู้วิจัยได้สร้างห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยภายใต้งบสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมสาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองค์กร JICA จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโครงการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างสูงโปรแกรมการพัฒนาการเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอกต่อไปในอนาคต รวมจนถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในเชิงนโยบาย

- สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศ และเพื่อขยายผลงานวิจัยของกลุ่ม

นักวิจัยไทยให้ครอบคลุมถึงสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและเพื่อเสริมสร้าง

สมรรถนะขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเองในอนาคต

- ยกระดับงานวิจัยไทยทางด้านเทคโนโลยีวัสดุพรุน (Porous media) ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล

ผลของงานวิจัยที่ได้ทำขึ้นจะนำไปลงตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยในระดับนานาชาติที่มี

Impact Factor สูง อาทิ เช่น ASME J. Heat Transfer, AIAA J., AIChE. J., Chemical

Enginerring Science, Int. Journal of Heat and Mass Transfer และ Int. J. Numerical

Method for Engineer เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแพร่ ชื่อเสียงให้ประเทศในระดับนานาชาติ

และยกระดับมาตรฐานงานวิจัยของประเทศให้เข้าสู่ระดับสากล นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ต่อ

ยอด (สิ่งประดิษฐ์เครื่องต้นแบบ) ที่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้

- สร้างเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์กับองค์กรวิจัยที่มีคุณภาพสูงในต่างประเทศ ซึ่งจะ

เป็นประโยชน์อย่างสูงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย และเครื่องมือวิจัยและการเชื่อม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประทศนั้นๆในโครงการอื่นๆ

- เสริมสร้างสมรรถนะการแข่งขันของประเทศในเชิงเทคโนโลยี โดยผู้วิจัยมีเป้าหมายที่จะทำ

การวิจัยเชิงลึกที่ครอบคลุมในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ (หัวข้องานวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย)

เทคโนโลยีเป้าหมาย:

- เทคโนโลยีอาหารและวิศวกรรมเคมี ; กระบวนการถนอมอาหารแบบพิเศษและ

- เทคโนโลยีกระบวนการอบแห้งชั้นสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

- เทคโนโลยีกระบวนการอบแห้งสาหรับไม้เศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่นไม้ยางเป็นต้น และกระบวนการ vulcanization แผ่นยางพารา

- กระบวนการ Sintering ในงานวัสดุ

- เทคโนโลยีพลังงาน ; Energy storage , ฉนวนความร้อน,

- วัสดุที่ใช้ประกอบเป็นโครงสร้างอาคาร เช่น ฉนวน ผนังอาคาร และวัสดุคอนกรีต เป็นต้น

- วิศวกรรมปฐพี ; การซึมของน้ำในชั้นดินและหิน

- วิศวกรรมเนื้อเยื่อในด้านการแพทย์

- เทคโนโลยีเมมเบรน

กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย:

- อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

- อุตสาหกรรมอบแห้งในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

- อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้

สถิติการเปิดชม : 1,488 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 180 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400