รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : MRG5680005 ชื่อโครงการ : การทำเสถียรภาพความถี่ของระบบสมาร์ทไมโครกริดด้วยลีสสแควร์ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชีน Smart Microgrid Frequency Stabilization using Least-Squares Support Vector Machines หัวหน้าโครงการ : จงลักษณ์ พาหะซา : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2 โครงการ) ] ทีมวิจัย : จงลักษณ์ พาหะซา หัวหน้าโครงการ อิสระชัย งามหรู นักวิจัยที่ปรึกษา วันที่เริ่มโครงการ : 3 มิ.ย. 2556 วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ RES ได้แก่ แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจากพลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์ และเซลล์เชื้อเพลิง ในด้านความถี่ แรงดัน เสถียรภาพระบบ และการแกว่างของกำลังไฟฟ้าของระบบไมโครกริด 2) เพื่อประยุกต์แหล่งจ่ายแบบกระจายที่ควบคุมได้ (controllable distributed generation: CDG) สำหรับการทำเสถียรภาพจากผลกระทบที่เกิดจากแหล่งจ่ายพลังงานหมุนวียนในกรณีไมโครกริด 3) เพื่อประยุกต์โหลดควบคุมได้ ได้แก่ รถไฟฟ้าไฮบริด (PHEV) และปั้มความร้อน (HP) เพื่อทำเสถียรภาพผลกระทบที่เกิดจาก RES ในกรณีของไมโครกริด 4) เพื่อนำเสนอ LS-SVM สำหรับการออกแบบการควบคุมสำหรับตัวควบคุมของ CDG, PHEV หรือ HP สำหรับการทำเสถียรภาพความถี่ของระบบไมโครกริดที่ประกอบด้วยแหล่งจ่ายพลังงานหมุนเวียนแต่ละชนิด 5) เพื่อตรวจสอบและระบุการวัดที่เหมาะสมของอินพุต (พารามิเตอร์ของไมโครกริด) และเอาท์พุต (สัญญาณควบคุมของไมโครกริด) สำหรับตัวควบคุมความถี่ของไมโครกริด โดยใช้ LS-SVM 6) เพื่อพัฒนาวิธีการสำหรับตัวควบคุมเสถียรภาพความถี่ไมโครกริดโดยใช้ LS-SVM ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ควบคุมได้ชนิดอื่นๆ ในไมโครกริด 7) เพื่อพัฒนาตัวอย่างแบบจำลอง LS-SVM สำหรับไมโครกริด โดยใช้ข้อมูลที่จัดเก็บจากระบบ ไมโครกริดของประเทศไทย เช่น ที่ศูนย์พลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก หรือการใช้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจริง และสภาพอากาศจริงในจังหวัดพะเยา แต่ทำการจำลองให้มีแหล่งจ่ายพลังงานทดแทนและอุปกรณ์อื่นๆ โดยสมมุติให้ อ.เมืองพะเยา มีสถานะเป็นไมโครกริด สถิติการเปิดชม : 536 ครั้ง ดาวน์โหลด : 36 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :