รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG4640035 ชื่อโครงการ : โครงการ "การพัฒนานักวิจัยและการวิจัยเชิงปฏิบัติการไตรภาคีเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชน ระยะที่ 1 : ภาคเหนือตอนบน" - หัวหน้าโครงการ : อารี วิบูลย์พงศ์ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (8 โครงการ) ] ทีมวิจัย : อารี วิบูลย์พงศ์ หัวหน้าโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 15 ก.ย. 2546 วัตถุประสงค์ : 1. ผลิตนักวิจัยวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นดำเนินการร่วมกับชุมชนและนักวิชาการเพื่อขยายฐานการวิจัยที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจฐานรากในวงกว้างและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากสามารถเขียนรายงานการวิจัยและวางแผนปรับปรุงโครงสร้างองค์การ โครงสร้างการผลิต การตลาด การเงินและการจัดองค์กรหรือแผนธุรกิจที่เหมาะสมให้แก่กลุ่มฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง สามารถแบ่งปันและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 3. เพื่ออบรมกระบวนการและเทคนิคในการจัดการวิสาหกิจชุมชน ไปสู่หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Oita ให้แก่ผู้ร่วมโครงการทุกฝ่าย เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงการให้เทียบเท่า One Village One Product ของ Oita 4. เพื่ออบรมกลุ่มฯ ในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีการผลิต การตลาด การเงิน และการจัดองค์กร ในส่วนของกลุ่มฯ ที่ยังมีจุดอ่อนตามผลการศึกษาวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มดังกล่าว 5. เพื่อทราบถึงสภาพปัจจุบันและพัฒนาการของหัตถกรรมพื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน โดยศึกษาเชิงลึกกลุ่มฯ ในประเด็นต่างๆ อาทิ โครงสร้างการผลิต โครงสร้างการตลาด โครงสร้างทางการเงิน การระดมทุน ลักษณะการประกอบการ และรูปแบบการจัดองค์กร เป็นต้น รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของกลุ่ม 6. เพื่อสร้าง (หรือขยาย) Website สำหรับส่งเสริมการขายให้แก่กลุ่มหัตถกรรมและอาหารแปรรูปพื้นบ้าน และเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้ประกอบการในด้านเทคโนโลยี สถาบันการเงิน และการตลาด ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ 7. เพื่อทราบถึงศักยภาพความยั่งยืนของการดำเนินงานของกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่มุ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อการตลาดเป็นหลัก และกลุ่มที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางสังคม เช่น กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งอาจเป็นกิจการที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในขณะเดียวกันยังเป็นกิจการที่ส่งเสริมให้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเป็นพลัง และเป็นทรัพยากรสังคม ในการจัดการกับเศรษฐกิจระดับชุมชนฐานรากของประเทศ สถิติการเปิดชม : 3,509 ครั้ง ดาวน์โหลด : 2,477 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :