รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG5130020 ชื่อโครงการ : การจัดการฐานข้อมูลรูปคลื่นแผ่นดินไหวของเครือข่ายสถานีอัตโนมัติในประเทศไทย Seismic Waveform Database Management of Digital Network in Thailand หัวหน้าโครงการ : สุมาลี ประจวบ ทีมวิจัย : สุมาลี ประจวบ หัวหน้าโครงการ บุรินทร์ เวชบรรเทิง นักวิจัยร่วมโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 1 เม.ย. 2551 วัตถุประสงค์ : 1. จัดทำฐานข้อมูล แคตตาล๊อก พารามิเตอร์ด้านแผ่นดินไหว ได้แก่ ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว เวลาเกิด ขนาดแผ่นดินไหว ของเครือข่ายตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลให้เป็นปัจจุบัน และเผยแพร่ต่อสาธารณะ สามารถให้ผู้ต้องการใช้ข้อมูล ได้แก่ วิศวกร นักธรณีวิทยา นักแผ่นดินไหว นักวิจัยที่เกี่ยวข้อง นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการโดยตรง 2. จัดทำฐานข้อมูล คลื่นความสั่นสะเทือนแบบดิจิตอลของแต่ละเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่บันทึกได้โดยเครือข่ายตรวจแผ่นดินไหวหลักของประเทศไทย พร้อมเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ประยุกต์ ในหลายเรื่อง ได้แก่ ในงานวิศวกรรมแผ่นดินไหว สามารถศึกษาการตอบสนองความสั่นสะเทือนของพื้นดินบริเวณต่างๆ ในย่านความถี่ต่างๆ ของคลื่นความสั่นสะเทือน ซึ่งสัมพันธ์กับการโยกไหวตามค่าความถี่ธรรมชาติของอาคารสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ วิจัยค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดิน ในพื้นที่ศึกษา ส่วนในงานด้านธรณีวิทยา สามารถศึกษาพิกัดตำแหน่งรอยเลื่อน ศักยภาพการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน ลักษณะการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน รวมถึงศึกษาเรื่อง ชั้นต่างๆ ในเปลือกโลก (Discontinuity Layer) ศึกษาสภาพการสั่นสะเทือนเฉพาะในบริเวณตรวจวัด(Ground Noise, Microtremor) ศึกษาค่าพลังงานแผ่นดินไหว รวมถึงการลดทอนพลังงานของแผ่นดินไหว เนื่องจากปัจจัยเฉพาะของการดูดซับพลังงาน หรือการขยายความสั่นสะเทือนตามสภาพธรณีวิทยาที่เป็นดินอ่อน เป็นต้น 3. วิเคราะห์ รวบรวม สรุปความสัมพันธ์ระหว่าง ตำแหน่งของแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล และขนาดต่างๆ เช่น ขนาดที่วิเคราะห์ โดยคลื่นความสั่นสะเทือนชนิดต่างๆ ( Ml Mb Ms Mwp หรือ Mw ) เป็นต้นเพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังภัยสึนามิ การแจ้งข่าวและการเตือนภัยสึนามิ ในพื้นที่เสี่ ยงภัยสึนามิทั้งฝั่งทะเล อ่าวไทยและทะเลอันดามัน สถิติการเปิดชม : 2,189 ครั้ง ดาวน์โหลด : 394 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :