รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RDG5210045
ชื่อโครงการ : การศึกษาความเป็นไปได้ของพยาบาลไทยไปทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ข้อผูกพันตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)
 
หัวหน้าโครงการ : สมชาย สุขสิริเสรีกุล : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
สมชาย สุขสิริเสรีกุล
หัวหน้าโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 27 ก.ค. 2552
วัตถุประสงค์ : 1. ศึกษาความต้องการของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อพยาบาลต่างชาติทั้งด้านจำนวน ด้านคุณภาพ และด้านคุณวุฒิ เพื่อให้มาดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งประเมินค่าจ้างที่กำหนดให้กับพยาบาล ต่างชาติตามปริมาณและคุณภาพของการทำงานในประเภทและระดับต่างๆ ตลอดจนสวัสดิการต่างๆที่เป็นตัวเงินและที่ไม่เป็นตัวเงิน

2. ประมาณการค่าจ้างที่ได้รับในไทยและค่าจ้างที่คาดหวังว่าจะได้รับในญี่ปุ่น รวมทั้งผลได้อื่นที่ไม่เป็นตัวเงิน (เช่น ประสบการณ์ในการทำงานในต่างประเทศ และการเพิ่มโอกาสในการไปทำงานในประเทศอื่นในอนาคต เป็นต้น) ตลอดจนวิเคราะห์จำนวนพร้อมทั้งประสบการณ์และคุณวุฒิของพยาบาลไทยที่ต้องการไปทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

3. วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าจ้างของพยาบาลที่คาดว่าจะได้รับในญี่ปุ่นกับค่าจ้างที่ได้รับในไทย ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลได้สุทธิของการเข้าไปทำงานของพยาบาลไทยตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ตลอดจนประเมินภาระงานที่เพิ่มขึ้นและศักยภาพของพยาบาลไทยในการทำงานประเภทนี้

4. ศึกษาตัวอย่างของพยาบาลต่างชาติที่เข้าไปญี่ปุ่นเพื่อทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุภายใต้ข้อผูกพันการเคลื่อนย้ายบุคคลเพื่อเข้าไปทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจของประเทศนั้นกับญี่ปุ่น (เช่น พยาบาลอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์) ในเรื่องผลได้ที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับก่อนที่เข้ามาประเทศญี่ปุ่น ความยากลำบากของการทำงาน และอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับพยาบาลไทยที่จะไปทำงานประเภทนี้ในญี่ปุ่น รวมทั้งเปรียบเทียบผลได้สุทธิที่เกิดขึ้นกับข้อผูกพันการเคลื่อนย้ายบุคคลเพื่อเข้าไปทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพื่อประเมินการสูญเสียโอกาสของไทยที่จะไม่ส่งพยาบาลไปทำงานที่ญี่ปุ่นหรือส่งไปในจำนวนที่น้อยกว่าที่กำหนดในข้อผูกพัน

5. ประเมินผลกระทบของการลาออกของพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐและผลกระทบที่เกิดกับผู้ป่วยโดยตรง

6. วิเคราะห์แนวทางในการชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับสังคม (ทั้งที่อยู่ในรูปของการขาดแคลนพยาบาล การสูญเสียการลงทุนของรัฐในการสอนและฝึกอบรมพยาบาล และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสถานพยาบาลในการจัดการคัดสรรบรรจุพยาบาลใหม่) เนื่องด้วยการลาออกของพยาบาลไปทำงานที่ญี่ปุ่นตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)

7. สังเคราะห์ความเป็นไปได้ของการไปทำงานในญี่ปุ่นของพยาบาลไทยตามพันธกรณีในเรื่องการส่งพยาบาลไทยไปทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นในสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องความคุ้มค่าส่วนบุคคลและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวม และในด้านความสอดคล้องของเงื่อนไขของการอนุญาตพยาบาลไทยไปทำงานกับกฎระเบียบทางด้านวิชาชีพและการจ้างงานของพยาบาลต่างชาติในญี่ปุ่น

สถิติการเปิดชม : 3,686 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 748 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400