รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG5340041 ชื่อโครงการ : โครงการวิจัยเพื่อสร้างภาพจำลองสังคมที่ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี หัวหน้าโครงการ : วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2 โครงการ) ] ทีมวิจัย : วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด หัวหน้าโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 15 ก.ย. 2553 วัตถุประสงค์ : เป็นการพัฒนาและสร้างศักยภาพในการสร้างภาพจำลองของสังคมที่ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยการจำลองกระบวนการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วมและชิ้นงานสื่อผสมเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 1. เพื่อกระตุ้นเครือข่ายในการสร้างและประเมินภาพจำลองของสังคมที่ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีและเปรียบเทียบกับภาพจำลองของเสรีนิยมใหม่ และสังคมนิยม 2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิธีการประเมินผลกระทบความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing Impact Assessment) โดยใช้ประสบการณ์ทำงานเรื่อง การประเมินผลกระทบสุขภาพ (HIA) และการจัดการทุน (เดชรัตน์ สุขกำเนิด) เป็นจุดเริ่มต้น ร่วมด้วยข้อมูลจาก ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH Index) ที่พัฒนาโดยศูนย์ภูฏานศึกษา และบัญชีประชาชาติเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยมูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ (nef) ประเทศสหราชอาณาจักร รวมไปถึงจากองค์กรอื่นๆ 3. เพื่อชี้แนะ ประสานงาน และสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงกรอบแนวคิด และเชิงปฏิบัติการอย่างลึกซึ้ง ในด้านที่มีความสำคัญต่อภาพจำลองสังคมที่ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี ตามที่เกิดขึ้นในโครงการวิจัยย่อยทั้งหมด: การคิดใหม่เรื่องทรัพย์สิน และ การเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท (เกษตรอินทรีย์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ) 4. เพื่อจัดเตรียมชิ้นงานสื่อผสมซึ่งจะสร้างความชัดเจนเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของภาพจำลองแบบต่างๆ ด้วยข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการ(การพยากรณ์) และผ่านกระบวนการจำลองการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วม(ชิ้นงานสื่อผสมจะเริ่มดำเนินการในระยะที่ 2 และ 3) 5. เพื่อประเมินและแบ่งปันบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องของการเสริมสร้างศักยภาพและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมการเผยแพร่ต่อไปในระยะที่ 3 6. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการเผยแพร่ "ภาพจำลองสังคมที่ช่วยให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี" ด้วยมุมมองจากการทำงานระดับนานาชาติเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม สถิติการเปิดชม : 1,882 ครั้ง ชุดโครงการ : เศรษฐกิจพอเพียง (22 โครงการ ) ดาวน์โหลด : 227 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :