รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG5510027 ชื่อโครงการ : ทุนสนับสนุนวิจัยกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity Research: AAR) เพื่อเด็ก เด็กกำพร้า สตรี สตรีหม้าย ผู้นำศาสนา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสี่อำเภอตอนล่างของจังหวัดสงขลา) หัวหน้าโครงการ : เมตตา กูนิง : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (3 โครงการ) ] ทีมวิจัย : เมตตา กูนิง หัวหน้าโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 1 เม.ย. 2555 วัตถุประสงค์ : 2.1 ด้านกลไกการจัดการ 2.1.1 สร้างการพัฒนา "กลไกการจัดการ" การดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคี ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และภาควิชาการในโครงการทุนวิจัยกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity Research) เพื่อสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน ให้เกิดความสัมพันธ์การเป็น "เจ้าของ: เฮาะกีตอ" เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน 2.1.2 สร้างกระบวนการทำงานร่วมกันผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมติดตามผลเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ รวมทั้งมีคาดหวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง ขยายผลภายหลังการดำเนินงานตามกิจกรรม ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาบนฐานความต้องการที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ 2.2 ด้านระบบข้อมูล 2.2.1 พัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย (Database Management System) ในโครงการทุนวิจัยกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity Research) 2.2.2 พัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูล และฐานข้อมูลการขยายผล โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: GIS 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการเชื่อมข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงบรรยายในโครงการทุนวิจัยกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity Research) 2.3 ด้านการเรียนรู้ และสร้างการเปลี่ยนแปลง 2.3.1 สนับสนุนการจัดกิจกรรมร่วม เช่น ด้านอาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาวัฒนธรรม และด้านการศึกษา (ศาสนา และสามัญ) บนฐานความต้องการร่วมของชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ศาสนธรรม และบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างการเรียนรู้และนำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาด้านอาชีพ และการศึกษา (ศาสนาและสามัญ) อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 2.3.2 ฟื้นฟูความสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกันในชุมชน ผ่านการทำกิจกรรมร่วมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและพัฒนาสู่การจัดกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหาที่ยั่งยืนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 2.3.3 ยกระดับงานชุมชนไปสู่การขยายผลเป็นการสนับสนุนทุนเพื่อท้องถิ่นเต็มรูป 2.3.4 ยกระดับการกระจายตัวเชิงพื้นที่ ใช้หลักการสร้างเครือข่าย ระหว่างองค์กรกับชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากองค์กรภายใน โดยรับการสนับสนุนจากเครือข่าย คือ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนตำบลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย และศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ได้รับผลกระทบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) 2.3.5 เกิดโครงการกิจกรรมทางเลือกในพื้นที่ ที่เป็นประเด็นเด่น เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับกลุ่ม และชุมชน ที่มีความต่อเนื่องของโครงการ สถิติการเปิดชม : 1,336 ครั้ง ดาวน์โหลด : 131 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :