รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG6040022 ชื่อโครงการ : การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก Economies-of-Scale in Local Administration and the Potential Analysis of Local Amalgamation. หัวหน้าโครงการ : ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ] ทีมวิจัย : ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ หัวหน้าโครงการ พิชิต รัชตพิบูลภพ นักวิจัยร่วมโครงการ นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล นักวิจัยร่วมโครงการ ดารุณี พุ่มแก้ว นักวิจัยร่วมโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 15 ก.ย. 2560 วัตถุประสงค์ : ประการแรก เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการในลักษณะข้ามสาขากล่าวคือ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ และ รัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อทดสอบข้อสันนิษฐานบางประการ อาทิ เช่น ขนาดเล็กเกินไปเป็นการไม่ประหยัดจากขนาด (diseconomies-of-scale) ขนาดท้องถิ่นที่ช่วยให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำหรือระดับที่ยอมรับได้น่าจะเป็นระดับใด ซึ่งการวิจัยจะช่วยลดตัดสินใจบนความเชื่อ หรือข้อสมมติว่า the bigger is the better ซึ่งอาจจะเป็นความจริงในบางกรณี และไม่เป็นจริงในอีกหลายกรณี ประการที่สอง เป็นตัวอย่างของการประยุกต์หลักวิชาการ เพื่อมาพัฒนานโยบายสาธารณะ และนำไปปรับปรุงข้อเสนอการปฏิรูป (เช่น สมมติว่า economies-of-scale ในท้องถิ่นชนบท อยู่ที่จำนวนประชากร 4-5 พันคน ข้อเสนอการควบรวมย่อมจะแตกต่างจากการสมมติว่า economies-of-scale เกิดขึ้นที่จำนวนประชากร 7 พันคน) อนึ่ง การวิจัยจะพยายามรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับต้นทุนค่าโสหุ้ย และการปรับตัวในองค์กรปกครองท้องถิ่นที่จะถูกควบรวมหรือท้องถิ่นที่จะมีหน่วยงานใหม่ผนวกเข้ามา (local annexation) การวิจัยจะช่วยทำให้มีข้อมูลเชิงประจักษ์ประกอบกับการพิจารณา เช่น จังหวัด A มีเทศบาลตำบลและ อบต. ขนาดเล็ก ซึ่งมีความอ่อนแอทางการเงินและการไม่ประหยัดต้นทุนมากน้อยเพียงใด เข้าใจทางเลือกของการควบรวม (option for amalgamation) ซึ่งมีหลายทางเลือก เช่น A หน่วยงานขนาดเล็กควบรวมกันเอง B หน่วยงานขนาดเล็กเข้ากับเทศบาลขนาดใหญ่กว่าที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ในกระบวนการตัดสินใจมีความซับซ้อนเนื่องจากมี ตัวละคร ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ คือหน่วยงานกำกับระดับชาติ การเมืองท้องถิ่น และภาคประชาชนซึ่งรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ประการที่สาม เพื่อได้กรณีศึกษาและความรู้ทางวิชาการ (เศรษฐศาสตร์ การจัดการ และรัฐประศาสนศาสตร์) ที่จะเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการและในเวทีสาธารณะ ควบคู่กันคือการพัฒนาฐานข้อมูลท้องถิ่นโดยประมวลข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งจำเป็นต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการควบรวม ผ่านกระบวนการประชุมกลุ่มและการรับฟังความคิดเห็นประชาชน อนึ่งในการควบรวมองค์กรยังมีความหมายถึงการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน (ระดับกอง) ซึ่งเกี่ยวกับการย้ายบุคลากร การส่งเสริมให้ท้องถิ่นตระหนักถึงมาตรฐานและคุณภาพบริการสาธารณะ และการทำงานร่วมกันเชิงสหการเพื่อประโยชน์ร่วมกัน สถิติการเปิดชม : 601 ครั้ง ชุดโครงการ : ชุดโครงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (63 โครงการ ) ดาวน์โหลด : 33 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :