รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RDG60T0083
ชื่อโครงการ : การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับถมเงินนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่และเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  The Development of Nakhon Niello Silver Jewelry’s Product in Nakhon Si Thammarat for Conservation, Disseminate and Local Wisdom Value Added.
หัวหน้าโครงการ : เจษฎา สุขสิกาญจน์
ทีมวิจัย :
เจษฎา สุขสิกาญจน์
หัวหน้าโครงการ
สุธี โส้ปะหลาง
นักวิจัยร่วมโครงการ
เรวัต สุขสิกาญจน์
นักวิจัยร่วมโครงการ
ตวงรัก รัตนพันธุ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 1 มิ.ย. 2560
วัตถุประสงค์ : จังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดตำแหน่งและทิศทางของจังหวัด โดยกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ “นครแห่งการเรียนรู้ เกษตร ท่องเที่ยว น่าอยู่ ชุมชนเข็มแข็ง” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 “ยุทธศาสตร์การสร้างฐานการผลิตที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและสมดุล” มีการกล่าวถึงการพัฒนาภาคการผลิตสินค้าและการบริการบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมการใช้ความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การส่งเสริมและพัฒนาสาขาธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยสนับสนุนให้ส่วนราชการหน่วยงานต่างๆ ทำงานแบบบูรณาการทั้งงานตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภท

เครื่องถมเป็นที่รู้จักกันในฐานะศิลปหัตถกรรมชั้นสูงที่เก่าแก่สีดำสนิทของน้ำยาถมที่ซึมแทรกอยู่บนร่องริ้วอันอ่อนช้อยงดงามของลวดลายไทย ส่งผลให้ภาชนะหรือเครื่องประดับเนื้อเงินเนื้อทองดูโดดเด่นสูงค่าขึ้น ช่างถมที่ถือกันว่าฝีมือดีที่สุดคือช่างถมเมืองนครศรีธรรมราช เราจึงมักได้ยินชื่อเสียงของเครื่องถมในนามเครื่องถมนคร โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องถมนครหัตถกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ ของประดับตกแต่ง ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องด้วยกระบวนการผลิตและรูปแบบที่มีอยู่ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นภาชนะหรือเครื่องประดับก็ตาม ทำให้ราคาของเครื่องถมค่อนข้างสูงและมีกลุ่มลูกค้าเฉพาะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลายหลาย

จากปัญหาและประเด็นสำคัญดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับถมเงินนคร จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่และเพิ่มมูลค่าให้กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เกิดรูปแบบใหม่ที่แสดงคุณค่าและแสดงถึงอัตลักษณ์ของเครื่องประดับถมเงินนครและความต้องการของชุมชนผู้ผลิต คือ กลุ่มนครหัตถกรรมเพื่อทำให้เกิดรูปแบบที่มีทั้งความสวยงาม ร่วมสมัย มีคุณค่าและยังคงความเป็นอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของเครื่องถมนครเอาไว้ สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคตามยุคสมัย ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชน และกลุ่มผู้ผลิตสามารถต่อยอดในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานได้เองและขยายสู่เศรษฐกิจระดับประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

สถิติการเปิดชม : 844 ครั้ง
ชุดโครงการ : การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (152 โครงการ )
ดาวน์โหลด : 83 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400