รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RDG6110023
ชื่อโครงการ : การกระจุกตัวของตลาดที่ดิน ความเหลื่อมล้ำทางการคลัง และนโยบายภาษี
  Land Market Concentration, Fiscal Disparity, and Tax Policy
หัวหน้าโครงการ : ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
หัวหน้าโครงการ
พิชิต รัชตพิบูลภพ
นักวิจัยร่วมโครงการ
ศิริพร สัจจานันท์
นักวิจัยร่วมโครงการ
สมบัติ เหสกุล
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 1 ก.พ. 2561
วัตถุประสงค์ : 1.ศึกษาการกระจุกตัวของตลาดที่ดิน (land market concentration) โดยศึกษาธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นรายจังหวัด เพื่อเข้าใจสภาพเป็นจริงวัดจากปริมาณซื้อขาย มูลค่าธุรกรรม ภาษีการโอนที่ดิน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับจังหวัด โดยพัฒนาแบบจำลองธุรกิจที่ดินรายจังหวัด (ประมวลข้อมูลรายจังหวัดเป็นรายปี 2554-2560 จัดเรียงเป็น panel data) และประยุกต์แบบจำลองเศรษฐมิติเพื่อขยายองค์ความรู้เศรษฐกิจที่ดินในประเทศไทย

2.การขยายองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตลาดที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ จากสถานะปัจจุบันการซื้อขาย-จดจำนอง-มรดกและการให้ของขวัญเป็นที่ดิน มีค่าธรรมเนียมและภาษี ซึ่งทำให้เกิดรายได้ทางการคลัง ส่วนหนึ่งเข้าคลังแผ่นดินอีกส่วนหนึ่งตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มูลค่าภาษีการโอนที่ดินประมาณ 1 แสนล้านบาท) การที่ตลาดที่ดินกระจุกตัวสูงในบางจังหวัดส่งผลทำให้การคลังท้องถิ่นเหลื่อมล้ำตามไปด้วย

3. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปภาษี กล่าวคือ ข้อเสนอให้ขยายฐานภาษีจากความมั่งคั่ง (wealth based taxation) ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มใหม่ และเป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ ประจักษ์ได้จาก พ.ร.บ. การรับภาษีมรดก พ.ศ. 2558 และยกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก และได้ยกร่างกฎหมายเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตามข้อมูลกลางปี พ.ศ. 2560) ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องมือของนโยบายกระจายรายได้ อย่างไรก็ตาม มีฝ่ายไม่เห็นด้วยและความพยายามทางการเมืองที่จะดึงหรือทำให้ร่างกฎหมายไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อภาครัฐ/องค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างน้อยที่สุด 2 ประการ ประการแรก รัฐและท้องถิ่นขาดแหล่งรายได้ภาษี จากที่ดินและทรัพย์สิน ประการที่สอง ทำให้มาตรการกระจายรายได้ไม่สามารถทำงานหรือเกิดขึ้นได้

4. ศึกษาทางเลือกการจัดสรรภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สิน – ที่ดิน และภาษีมรดกแนวใหม่ (new tax allocation) เพื่อบรรเทาความเหลื่อมล้ำทางการคลัง โดยคำนึงถึงผลกระทบภายนอก และความเป็นธรรมระหว่างพื้นที่ (จังหวัด) กล่าวคือ ในสภาพปัจจุบันการจัดเก็บภาษีที่ดิน ทรัพย์สิน และยานพาหนะจำแนกตามพื้นที่จังหวัด ซึ่งนำมาจัดสรรเข้ารัฐบาลส่วนหนึ่งและองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกส่วนหนึ่ง
สถิติการเปิดชม : 774 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 100 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400