รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RDG61A0003
ชื่อโครงการ : การศึกษากลไกเชิงพื้นที่โดยการวางแผนและการออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคม
  Smart Growth for Area Development Mechanism of Urban Planning and Design toward Economic and Social Improvement-SG-ABC
หัวหน้าโครงการ : ฐาปนา บุณยประวิตร : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
วันที่เริ่มโครงการ : 1 ก.ค. 2561
วัตถุประสงค์ : โครงการพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ในการพัฒนาเมืองโดยออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.ศึกษาและนำกลไกและเครื่องมือการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานจากเกณฑ์มาตรฐานทดสอบปฏิบัติการในพื้นที่ตามแนวทางของการวิจัย เพื่อสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผน กลไกการออกแบบเมือง และกลไกการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย โดยกลไกที่ได้ต้องมีศักยภาพในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและเศรษฐกิจ สามารถนำไปเป็นตัวแบบและแนวทางในการวางแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ

2.นำเกณฑ์การวางแผนและการออกแบบเมืองของ Smart Growth และ LEED-ND ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ ปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของไทย ซึ่งนับเป็นรูปแบบการพัฒนาแรก (New Platform 1) ที่สามารถแสดงแบบจำลองการพัฒนาเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจระดับย่าน โดยคาดหวังให้แผนมีศักยภาพในการลดการกระจัดกระจายของเมือง กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มพื้นที่เศรษฐกิจให้สอดคล้องกับรายจ่ายของเมือง และกำหนดทิศทางการเติบโตของเมืองและระบบเศรษฐกิจในอนาคต

3.สร้างรางวัลการวางแผนแห่งชาติ (National Planning Award-Thailand NPA) ให้เป็นรางวัลต้นแบบสำหรับผู้พัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นรูปแบบการพัฒนาแบบที่สอง (New Platform 2) โดยกำหนดให้ NPA เป็นเครื่องชี้แนวทางและตัวชี้วัดระดับการพัฒนา เป็นบรรทัดฐานใหม่เพื่อการวางแผน NPA จะเป็นเครื่องกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานใช้เป็นกรอบในการวางผังและการออกแบบเมืองที่สร้างความยั่งยืนในอนาคต

4.สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาเมืองโดยให้บริษัทพัฒนาเมือง (City Development-CD)

5.ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคมของท้องถิ่นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government-LG) ร่วมกันเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นผู้สนับสนุน เป็นรูปแบบการพัฒนาแบบที่ 3 (New Platform 3) ทั้งนี้ บริษัทพัฒนาเมืองจะเป็นกลไกขับเคลื่อนประสานการลงทุนทางเศรษฐกิจและสร้างการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นกลไกสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงกฎระเบียบการทำงานให้เกิดความสะดวกในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ กลไกนี้จะช่วยสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจเดิมให้มีชีวิตชีวา และยังกระตุ้นให้เกิดเปลี่ยนแปลงฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงาน การจ้างงาน การกระจายรายได้ และการสร้างความสมดุลในการใช้งบประมาณระหว่างของรัฐและของเอกชนในการลงทุนทางเศรษฐกิจและทางสังคม

6.บูรณาการกลไกการวางแผนและการออกแบบเมืองตามเกณฑ์มาตรฐาน (Platform 1) ตามแนวทางและตัวชี้วัดของ NPA (Platform 2) และสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทพัฒนาเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Platform 3) เพื่อสร้างแนวทางและกระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูระบบทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตัวอย่างเป็นเมืองแห่งการเดิน (Walkable City) เมืองสุขภาพ (Healthy City) และเมืองประหยัดการใช้พลังงาน ใช้รูปแบบการพัฒนาใหม่ประยุกต์เป็นผังแม่บททางกายภาพและโครงการพัฒนาตามผัง มอบให้บริษัทพัฒนาเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปวางแผนปรับปรุงฟื้นฟู เพื่อกระตุ้นการลงทุนทางเศรษฐกิจและวางแผนงบประมาณเพื่อการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต

7.ใช้รูปแบบการพัฒนาใหม่สร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้บริษัทพัฒนาเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้เป็นฐานการผลิต ฐานการบริการ และฐานภาษีที่ยั่งยืนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแก่รัฐบาล

สถิติการเปิดชม : 1,032 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 86 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400