รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : RDG61T0079 ชื่อโครงการ : ศึกษาการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจในจังหวัดระยองเพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) The project studies the development of transport infrastructure and transport links in the local economy, Rayong Province for the construction of high-speed trains and a double-track railway to support East Economic Corridor (EEC) หัวหน้าโครงการ : ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ] ทีมวิจัย : ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ หัวหน้าโครงการ ธนาวดี หมดใส นักวิจัยร่วมโครงการ ณภิชยา หอมกลิ่น นักวิจัยร่วมโครงการ สุขุมาภรณ์ พัฒนไพบูลย์วงศ์ นักวิจัยร่วมโครงการ วันที่เริ่มโครงการ : 15 ธ.ค. 2560 วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อประเมินและวิเคราะห์ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ในจังหวัดระยองรองรับการก่อสร้างรถไฟรางคู่หรือรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งสำรวจปัญหา โอกาสและความต้องการของภาคีผู้มีส่วนได้เสียของพื้นที่เป้าหมายและศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคของพื้นที่จังหวัดระยอง 2. เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมในการปรับตัวและการสร้างโอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจในจังหวัดระยองเพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่สู่จังหวัดระยอง ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ อาทิ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว ภาคพาณิชยกรรมและภาคประชาสังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย 3. เพื่อทบทวนศักยภาพการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่เกี่ยวเนื่องตามแนวเส้นก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่สู่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดระยองโดยครอบคลุมใน 3 ประเด็นหลักคือ (1) การลงทุนทางด้านธุรกิจการขนส่งและศูนย์กระจายสินค้า (2) การลงทุนทางด้านพาณิชยกรรม ด้านอุตสาหกรรมและด้านโลจิสติกส์ รวมถึงแนวทางการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Park) (3) การลงทุนด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและประชาชนบริเวณภายในจังหวัดระยองและจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนนโยบาย กฎระเบียบ และพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. ศึกษาทบทวนและคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านศูนย์กลางการเชื่อมโยงสินค้าและบริการทางรถไฟไปยังโหมดขนส่ง อื่น ๆ ในจังหวัดระยอง 5. ศึกษารูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการศูนย์กลางการเชื่อมโยงสินค้าและบริการทางรถไฟไปยังโหมดขนส่งอื่น ๆ ในจังหวัดระยองอย่างมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 6.เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านกายภาพ รูปแบบทางเทคนิคและวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การตลาด การบริหารจัดการ สังคมและสิ่งแวดล้อมของศูนย์กลางการเชื่อมโยงสินค้าและบริการทางรถไฟไปยังโหมดขนส่งอื่น ๆ ในจังหวัดระยอง 7. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การวางแผนการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดระยองรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการส่งเสริมอุตสาหกรรม การเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออ สถิติการเปิดชม : 602 ครั้ง ชุดโครงการ : โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (128 โครงการ ) ดาวน์โหลด : 41 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :