รายละเอียดโครงการวิจัย รหัสโครงการ : TRG5280025 ชื่อโครงการ : การพัฒนาชุดทฤษฎีและวิธีการวิเคราะห์พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมโดยใช้กระบวนการ Semantic และ Syntactic Method: กรณีศึกษาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของระบบที่ว่างและรูปทรงของงานสถาปัตยกรรมไทยในเกาะรัตนโกสินทร์ Theoretical and Methodological Construction towards an Analysis of Architectural Configuration through a Synthesis of Semantic and Syntactic Methods: A Case Study of Spatial and Formal Morphology of Thai Architecture in Rattanakosin Ancient City หัวหน้าโครงการ : ต้นข้าว ปาณินท์ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ] ทีมวิจัย : ต้นข้าว ปาณินท์ หัวหน้าโครงการ อรศิริ ปาณินท์ นักวิจัยที่ปรึกษา David Leatherbarrow นักวิจัยที่ปรึกษา วันที่เริ่มโครงการ : 16 มี.ค. 2552 วัตถุประสงค์ : 2.1 โครงการวิจัย การพัฒนาชุดทฤษฎีและวิธีการวิเคราะห์พื้นที่ทางสถาปัตยกรรม โดยใช้กระบวนการ Semantic และ Syntactic Method นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิทยาการใหม่ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมโดยวิธี Semantic Study และ Syntactic Study การผสมผสานและการทํางานร่วมกันของทั้ง 2 วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นวิทยาการใหม่ในการวิจัยทางสถาปัตยกรรม ในการศึกษาการพัฒนาเปลี่ยนแปลง (Evolution) ของงานสถาปัตยกรรมและการศึกษาการแปรเปลี่ยนของระบบการใช้พื้นที่ (Spatial Morphology) ซึ่งสัมพันธ์กับรูปทรง (Form) ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ศึกษาวิจัยหลักการทํางานร่วมกันของทั้งสองแขนงทฤษฎีมาก่อน วิธีการทำงานร่วมกันของ Semantic และ Syntactic Methods สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรูปแแบบ ขนาด สัดส่วน ระบบการจัดพื้นที่และรูปทรง (Order, Scale, Size, Spatial and Formal Configuration) ทางสถาปัตยกรรม 2.2 ในงานวิจัยนี้เครื่องมือดังกล่าวจะถูกนำมาทดลองใช้ในการศึกษาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของระบบว่างและรูปทรงในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งจะสามารถนําไปสู่ความเข้าใจในสถานะของงานสถาปัตยกรรมในอดีตและปัจจุบันอันเป็นประโยชน์ต่อและทิศทางการพัฒนาเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมไทยในศตวรรษที่ 21 โดยจะแบ่งประเภทของงานสถาปัตยกรรมไทยที่จะทำการศึกษาเป็น 3 ประเภทหลักคือ งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี งานสถาปัตยกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก และ งานสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์และร่วมสมัย โดยจะแบ่งลำดับของเนื้อหาการศึกษาตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เป็นเกณฑ์เริ่มตั้งแต่สถาปัตยกรรมสุโขทัยจนถึงสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ร่วมสมัย เพื่อสร้างภาพรวมที่จะสามารถอธิบายถึงระบบการเปลี่ยนแปลงของรูปแแบบ ขนาด สัดส่วน ระบบการจัดพื้นที่และรูปทรงในงานสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนที่มาและผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยใช้กรณีศึกษางานสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในขอบเขตทางกายภาพของเกาะรัตนโกสินทร์ สถิติการเปิดชม : 2,645 ครั้ง ดาวน์โหลด : 410 ครั้้ง แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่ (* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้) รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) บทคัดย่อ (Abstract) : แสดงบทคัดย่อ เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์ :