รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RDG52O0002
ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายา
  The Research Project on the Relationship of The Ancient Through Present Culture for the Development of Cultural and Civilization Database for GMS and Malay Peninsula Regions
หัวหน้าโครงการ : สุรัตน์ เลิศล้ำ : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (9 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
สุรัตน์ เลิศล้ำ
หัวหน้าโครงการ
กาญจนา กาญจนสุต
ผู้ทรงคุณวุฒิ
วรวุฒิ โลหะวิจารณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิ
สุรพล นาถะพินธุ
นักวิจัยร่วมโครงการ
พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน
นักวิจัยร่วมโครงการ
ปานใจ ธารทัศนวงศ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 15 พ.ย. 2551
วัตถุประสงค์ : เพื่อรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมสมัยโบราณในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ - ใต้ และทิศตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทยและในพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการความรู้สาขาต่างๆที่เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ - ใต้ และทิศตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนแก่ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยแบ่งประเด็นหลักของการวิจัยออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

1. เพื่อขยายฐานความรู้จากการศึกษาการแผ่ขยายของอารยธรรมเขมรโบราณ ที่ดำเนินการมาแล้ว ให้ครอบคลุมกลุ่มวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันในประเทศกลุ่ม GMS (Greater Mekong Subregion) และคาบสมุทรมลายา ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลรวมทางวัฒนธรรมสำหรับประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของประชาชนในกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายาทั้งในระดับชุมชนและระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี

2. ดำเนินการวิเคราะห์เชิงโบราณคดีและวัฒนธรรมและเชิงพื้นที่ในลักษณะสหวิทยาการ เพื่อศึกษารายละเอียดของความสัมพันธ์ในอดีตผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องการดำเนินการศึกษาอารยธรรมเขมรโบราณที่ผ่านมาเป็นไปในลักษณะการศึกษาเฉพาะแหล่ง โดยยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ในภาพรวมและเชิงพื้นที่อย่างจริงจังและเป็นระบบ และทำการขยายการศึกษาตามแนวถนนโบราณจากเมืองพระนครไปทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ (ประเทศลาว) และทางทิศตะวันออก (ประเทศเวียดนาม)

3. ศึกษาถึงความเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรมถลุงโลหะโบราณในประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงการกระจายตัว ความสัมพันธ์ของชุมชนในอดีตในระดับภูมิภาค เนื่องจากโลหะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาของชุมชน ซึ่งการศึกษานี้เป็นการขยายขอบเขตการศึกษาด้านโลหะกรรมโบราณบริเวณ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ของโครงการที่ผ่านมา เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแหล่งโลหะกรรมโบราณซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตามแนวถนนโบราณจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมายที่ได้มีการค้นพบ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งโลหกรรมที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคในอดีต

4. พัฒนาฐานข้อมูลทางโบราณคดีและวัฒนธรรมจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และการเก็บรวบรวมในพื้นที่ศึกษาซึ่งจะกระจายตัวอยู่ในประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลในลักษณะ Geo-Spatial ของพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเป็นฐานข้อมูลรวม ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นวิจัยแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยในด้านอื่นๆ อีกด้วย

5. พัฒนาความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีของประชาชนในกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา โดยใช้ผลที่ได้จากการวิจัยเผยแพร่ต่อชุมชน เยาวชน การจัดประชุมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนเพื่อเป็นแกนของการสร้างความสัมพันธ์ในระดับชุมชนและระดับองค์กรต่อไป

สถิติการเปิดชม : 2,342 ครั้ง
ชุดโครงการ : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) (53 โครงการ )
ดาวน์โหลด : 954 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400